รู้จักเทศกาลฉงหยาง 重阳节 วันผู้สูงอายุจีน

ถ้าพูดถึงเทศกาลจีน หลายคนอาจนึกถึงเทศกาลตรุษจีน, เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลเช็งเม้ง ในบทความนี้เหล่าซือและ สถาบันภาษาจีนเลิร์นนิ่งอีสท์ จะพาทุกคนมารู้จักเทศกาลที่คนไทยอาจไม่คุ้นหูอย่าง "เทศกาลฉงหยาง" กันค่ะ

 

รู้จักเทศกาลฉงหยาง 重阳节 วันผู้สูงอายุจีน โดยสถาบันภาษาจีนเลิร์นนิ่งอีสท์ Learning East

 

เทศกาลฉงหยางคืออะไร?

"เทศกาลฉงหยาง" ภาษาอังกฤษเรียกว่า Double Ninth Festival, Chongyang Festival ภาษาจีนคือ 重阳节 Chóngyáng jié (ฉงหยางเจี๋ย)

  • 重 chóng ฉง แปลว่า "ซ้ำ"
  • 阳 yáng หยาง แปลว่า "หยาง"
  • 节 jié เจี๋ย แปลว่า "เทศกาล"

重阳节 จึงมีความหมายว่า "เทศกาลหยางซ้ำ, เทศกาลหยางคู่" ที่มีชื่อนี้เพราะเทศกาลฉงหยางตรงกับวันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (ตรงกับเดือนตุลาคมของทุกปี) ตามคัมภีร์อี้จิง (易经) ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง เลข 9 คือเลขหยาง (阳) ส่วนเลข 6 คือเลขหยิน (阴) นั่นเอง

 

รู้จักเทศกาลฉงหยาง 重阳节 วันผู้สูงอายุจีน โดยสถาบันภาษาจีนเลิร์นนิ่งอีสท์ Learning East

สัญลักษณ์หยินหยาง

สีดำคือ 阴 หยิน (ดวงจันทร์ สตรีเพศ การหยุดนิ่ง) 

สีขาวคือ 阳 หยาง (ดวงอาทิตย์ บุรุษเพศ ความกระตือรือร้น)

 

ทำไมเทศกาลฉงหยางถึงเป็นวันผู้สูงอายุจีน?

อย่างที่เหล่าซือได้เกริ่นไปว่าเทศกาลฉงหยางตรงกับวันที่ 9 เดือน 9 

เลข 9 ในภาษาจีนคือ 九 jiǔ (จิ่ว) วันที่ 9 เดือน 9 คือ 九九 (jiǔjiǔ) ซึ่งพ้องเสียงกับ 久久 (jiǔjiǔ) ที่แปลว่า "ยืนยาว" ด้วยความหมายมงคลแบบนี้เอง ทางการจีนเลยกำหนดให้วันนี้เป็นเทศกาลผู้สูงอายุหรือ 老人节 Lǎorén jié (เหล่าเหรินเจี๋ย) 

สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2525 รัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนซึ่งเป็นวันสงกรานต์หรือวันปีใหม่ไทยเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยมีดอกลำดวนซึ่งเป็นไม้ยืนต้นเป็นตัวแทนของผู้สูงอายุค่ะ 

 

ขนมประจำเทศกาลฉงหยาง

เช่นเดียวกับที่เทศกาลไหว้พระจันทร์มีขนมไหว้พระจันทร์ (อ่านบทความ ขนมไหว้พระจันทร์ (月饼) ตำนาน ความเชื่อ และเกร็ดภาษาจีนน่ารู้ คลิก ที่นี่เทศกาลฉงหยางก็มี "ขนมฉงหยาง" เป็นขนมประจำเทศกาลเหมือนกันนะ :) 

 

 ขนมฉงหยาง ภาษาจีนเรียกว่า 重阳糕 chóngyáng gāo (ฉงหยางเกา) 

 

ขนมฉงหยางทำจากแป้งข้าวเจ้า ตกแต่งด้วยพุทรา ถั่ว ธัญพืช หรือผลไม้เชื่อม บ้างก็ตกแต่งด้วยดอกเบญจมาศ 

คำว่า 糕 gāo (เกา) ที่แปลว่า "เค้ก" ยังพ้องเสียงกับ 高  gāo (เกา) ที่แปลว่า "สูง" การกินขนมฉงหยางจึงมีความหมายมงคลสื่อถึงความเจริญก้าวหน้า

 

ดอกไม้ประจำเทศกาลฉงหยาง

ตามความเชื่อของคนจีน "ดอกเบญจมาศ" เป็นสัญลักษณ์ของความยั่งยืน ด้วยความเชื่อนี้เองดอกเบญจมาศจึงกลายเป็นดอกไม้ประจำเทศกาลฉงหยางและเทศกาลผู้สูงอายุของประเทศจีน

 

รู้จักเทศกาลฉงหยาง 重阳节 วันผู้สูงอายุจีน โดยสถาบันภาษาจีนเลิร์นนิ่งอีสท์ Learning East

ดอกเบญจมาศ (Chrysanthemum) ภาษาจีนเรียกว่า 菊花 júhuā (จวี๋ฮวา) 

 

กิจกรรมเทศกาลฉงหยาง

ในช่วงเทศกาลฉงหยาง ชาวจีนจะรับประทานขนมฉงหยางซึ่งเป็นขนมประจำเทศกาล ดื่มไวน์ดอกเบญจมาศ และจัด "เทศกาลดอกเบญจมาศ" หรือ 菊花节 júhuāji (จวี๋ฮวาเจี๋ย) เพื่อชมความงามของดอกเบญจมาศ 

และด้วยความที่ช่วงนี้ของปีตรงกับกลางฤดูใบไม้ร่วงที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งอากาศไม่หนาวจัด ชาวจีนจึงมีประเพณี 登高 dēnggāo (เติงเกา) หรือ "ขึ้นที่สูง" อย่างเช่นปีนเขาหรือขึ้นเจดีย์สูงๆ เพื่อสัมผัสธรรมชาติ และยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุในฐานะที่เป็นวันผู้สูงอายุอีกด้วยค่ะ 

ใครสนใจเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับเทศกาลและวันสำคัญอื่นๆ ของจีน อย่าลืมเข้าไปอ่านกันได้ ที่นี่ สุดท้ายนี้ 重阳节快乐!Chóngyáng jié kuàilè! ฉงหยางเจี๋ยคว่ายเล่อ สุขสันต์เทศกาลฉงหยางค่ะ :)

"เรียนภาษาจีนมาหลายปีแต่พูดไม่ได้สักที...เป็นเพราะแบบนี้หรือเปล่า?"

  

คอร์สภาษาจีนออนไลน์เพื่อการสื่อสาร โดยสถาบันภาษาจีนเลิร์นนิ่งอีสท์

 

คอร์สภาษาจีนออนไลน์เพื่อการสื่อสาร โดยสถาบันภาษาจีน Learning East

  

คุณเป็นคนนึงหรือเปล่าที่เรียนภาษาจีนมาหลายปีแต่ยังสื่อสารไม่ได้สักที?

ถ้าคำตอบคือ 'ใช่' ไม่ต้องแปลกใจ เพราะมีนักเรียนไทยมากมายที่ประสบปัญหานี้เช่นกัน

จบปัญหาเรียนจีนแต่พูดไม่ได้ฟังไม่ออก ใน 'คอร์สภาษาจีนออนไลน์เพื่อการสื่อสาร (แบบกลุ่ม)' จากสถาบันภาษาจีนเลิร์นนิ่งอีสท์

  • เน้นพัฒนาทักษะการฟัง-พูดเพื่อการสื่อสารโดยเฉพาะ
  • เรียนสดเป็นกลุ่มเล็กแบบออนไลน์ ฝึกฝนทั่วถึง
  • บทเรียนมีประสิทธิภาพ ใช้สื่อสารได้จริง
  • สอนโดยเหล่าซือชาวจีนที่มีประสบการณ์สอน นร. ไทยและต่างชาติ

 

 

สอบถามข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ของเรา กดปุ่มด้านล่างได้เลยค่ะ

 


Visitors: 305,572